การเดินทางโดยรถไฟ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการเดินทางของประชาชน ไปยังจังหวัดต่างๆ ที่มีเส้นทางรถไฟผ่าน ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีราคาค่าโดยสารที่ไม่แพงจนเกินไปนัก อีกทั้งยังมีความสะดวก และความปลอดภัยในการเดินทางสูง ประชาชนสามารถเลือกใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางใกล้หรือไกล ซึ่งในปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดการให้บริการรถโดยสารแก่ประชาชน ในหลายๆ รูปแบบ ตามความสะดวก และความเหมาะสมในการเดินทาง โดยมีให้บริการตั้งแต่ระดับสบายที่สุด ตั้งแต่ รถนอนปรับอากาศ ชั้นที่ 1 หรือแบบราคาประหยัด คือ รถนั่งชั้น 3 พัดลม ให้เลือกใช้บริการเป็นต้น การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดเดินขบวนรถโดยสาร เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ตามประเภทของขบวนรถ ซึ่งจะมีรูปแบบของการจัดขบวนรถ สถานีที่หยุดรับส่ง ประเภทของรถโดยสารที่จะใช้พ่วง ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ แตกต่างกันไปตามลำดับความสำคัญ และชนิดการให้บริการดังต่อไปนี้ ดังต่อไปนี้
ขบวนรถด่วนพิเศษ (Special Express)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น รถพ่วงส่วนใหญ่ มีทั้งรถนอนธรรมดา และปรับอากาศ คิดค่าธรรมเนียมขบวนรถ คนละ 190 บาท
ชนิดรถที่ให้บริการ
รถโบกี้ปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 1 (บนอ.ป.)
รถโบกี้ปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.ป.)
รถโบกี้นั่งชั้นที่ 2 (บชท.) * (เฉพาะขบวน 37/38)
รถโบกี้นั่งชั้นที่ 3 (บชส.) * (เฉพาะขบวน 37/38)
รถโบกี้นั่งปรับอากาศชั้นที่ 3 (บชส.ป.) * (เฉพาะขบวน 37/38)
เส้นทางที่จัดบริการ :
ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดเดินขบวนรถด่วนพิเศษในภาคเหนือ และภาคใต้ดังนี้
ขบวนรถด่วนพิเศษนครพิงค์ (ขบวน 1/2)
ระหว่าง กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วนพิเศษ (ขบวน 13/14)
ระหว่าง กรุงเทพ – เชียงใหม่ –กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ (ขบวน 35/36)
ระหว่าง กรุงเทพ – บัตเตอร์เวอร์ธ –กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณ (ขบวน 37/38)
ระหว่าง กรุงเทพ –สุไหงโกลก- กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วน (Express)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกล หยุดสถานีที่สำคัญ ๆ เท่านั้น รถพ่วงจะเป็นรถนอนธรรมดาและปรับอากาศ โดยจะมีรถโดยสาร ชนิดนั่ง ทั้งปรับอากาศหรือนั่งพัดลม พ่วงรวมอยู่ด้วยในบางขบวน คิดค่าธรรมเนียมขบวนรถ คนละ 150 บาท
ชนิดรถที่ให้บริการ
รถโบกี้ปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 1 (บนอ. ป.)
รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
รถโบกี้ปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.ป.)
รถโบกี้นั่งปรับอากาศชั้นที่ 2 (บชท.ป.)
รถโบกี้นั่งชั้นที่ 2 (บชท.)
รถโบกี้นั่งชั้นที่ 3 (บชส.)
รถโบกี้นั่งปรับอากาศชั้นที่ 3 (บชส.ป.)
เส้นทางที่จัดบริการ :
ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดเดินขบวนรถด่วนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ดังนี้
ขบวนรถด่วน (ขบวน 51/52)
ระหว่าง กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วน (ขบวน 67/68)
ระหว่าง กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วน (ขบวน 69/70)
ระหว่าง กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วน (ขบวน 83/84)
ระหว่าง กรุงเทพ – ตรัง – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วน (ขบวน 85/86)
ระหว่าง กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว (Rapid)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินระยะทางไกลหยุดเกือบทุกสถานี รถพ่วงส่วนใหญ่จะเป็นรถนั่งชั้น 2 และ ชั้น 3 คิดค่าธรรมเนียมขบวนรถ คนละ 110 บาท (ยกเว้นรถเร็วขบวนที่ 111/112 , 115/116 , 143/144 , 145/146 , 175/176 , 177/178 ที่คิดค่าธรรมเนียมตามระยะทาง คือ ช่วง 1 – 100 กม. แรก คนละ 50 บาท, ช่วง 101 – 300 กม. แรก คนละ 80 บาท และตั้งแต่ 301 กม.ขึ้นไป คนละ 110 บาท)
ชนิดรถที่ให้บริการ
รถโบกี้นั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.)
รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.ป.)
รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
เส้นทางที่จัดบริการ
ปัจจุบันได้จัดเดินขบวนรถเร็วใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ดังนี้
สายเหนือ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ -เชียงใหม่ – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ – ศิลาอาสน์ – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ – เด่นชัย – กรุงเทพ : วันละ 4 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ – พิษณุโลก – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ : วันละ 10 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
สายใต้
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ – นครศรีธรรมราช – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ – กันตัง – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ – สุไหงโกลก – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง กรุงเทพ – ยะลา – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง ธนบุรี – หลังสวน – ธนบุรี : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถเร็ว ระหว่าง หาดใหญ่ – สุไหงโกลก – หาดใหญ่ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถวิ่งระหว่างเมืองใหญ่ (Inter City)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อรับ/ส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองใหญ่ๆ จะหยุดเฉพาะสถานีสำคัญๆ เท่านั้น ขบวนรถที่ให้บริการ จะเป็นรถดีเซลรางชั้น 2 นั่งปรับอากาศทั้งขบวน คิดค่าธรรมเนียมปรับอากาศ พร้อมบริการอาหารกล่องและของว่าง เพิ่มต่างหาก นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมของขบวนรถด่วนพิเศษและรถด่วน โดยจะคิดตามระยะทาง คือ ช่วง 1 – 300 กม. แรก คนละ 110 บาท , ช่วง 301 – 500 กม. แรก คนละ 120 บาท และตั้งแต่ 501 กม.ขึ้นไป คนละ 160 บาท (ค่าธรรมเนียมรถด่วนพิเศษ คนละ 170 บาท, ค่าธรรมเนียมรถด่วน คนละ 150 บาท)
ชนิดรถที่ให้บริการ
รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศมีห้องขับ
รถกำลังดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ
เส้นทางที่จัดบริการ
ปัจจุบันได้จัดเดินขบวนรถด่วน/ด่วนพิเศษ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ดังนี้
สายเหนือ
ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง (ขบวน 3/4)
ระหว่าง กรุงเทพ – สวรรคโลก – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง (ขบวน 9/10, 11/12)
ระหว่าง กรุงเทพ – เชียงใหม่ – กรุงเทพ : วันละ 4 ขบวนไป-กลับ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง (ขบวน 21/22)
ระหว่าง กรุงเทพ – อุบลราชธานี – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วนดีเซลราง (ขบวน 71/74)
ระหว่าง กรุงเทพ – ศรีษะเกษ – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ (ไม่มีบริการอาหาร)
ขบวนรถด่วนดีเซลราง (ขบวน 73/72)
ระหว่าง กรุงเทพ – ศรีขรภูมิ – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ (ไม่มีบริการอาหาร)
ขบวนรถด่วนดีเซลราง (ขบวน 75/78)
ระหว่าง กรุงเทพ – อุดรธานี – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ (ไม่มีบริการอาหาร แต่มีรถนั่งชั้น 3 ให้บริการ)
ขบวนรถด่วนดีเซลราง (ขบวน 77/76)
ระหว่าง กรุงเทพ – หนองคาย – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ (ไม่มีบริการอาหาร แต่มีรถนั่งชั้น 3 ให้บริการ)
สายใต้
ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง (ขบวน 39/40)
ระหว่าง กรุงเทพ – สุราษฎร์ธานี – กรุงเทพ : วันละ 4 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง (ขบวน 41/42)
ระหว่าง กรุงเทพ – ยะลา – กรุงเทพ : วันละ 2 ขบวนไป-กลับ
ขบวนรถท่องเที่ยว (Excursion)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ หยุดเฉพาะสถานีที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น ขบวนรถที่ให้บริการ จะเป็นรถดีเซลรางธรรมดาและปรับอากาศ และรถโดยสารปรับอากาศที่จัดเฉพาะ ค่าโดยสารคิดอัตราพิเศษตามแต่ละรายการ
ชนิดรถที่ให้บริการ
รถดีเซลรางธรรมดา
รถดีเซลรางปรับอากาศ
รถนั่งชั้น 3
รถนั่ง/นอนปรับอากาศชั้น 1-2 * (เฉพาะรถนำเที่ยวเขื่อนป่าสัก และชมทุ่งดอกกระเจียว)
เส้นทางที่จัดบริการ
ขบวนรถนำเที่ยว กรุงเทพ – สวนสนประดิพัทธ์ (หัวหิน) – กรุงเทพ
ขบวนรถนำเที่ยว กรุงเทพ – น้ำตก (กาญจนบุรี) – กรุงเทพ
ขบวนรถนำเที่ยว กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ – กรุงเทพ (เฉพาะฤดูกาล)
ขบวนรถนำเที่ยว กรุงเทพ – บ้านวะตะแบก (เทพสถิต) – กรุงเทพ (ชมทุ่งดอกกระเจียว – ตามฤดูกาล)
ขบวนรถพิเศษ รถจักรไอน้ำ กรุงเทพ – อยุธยา – กรุงเทพ (เดินเฉพาะวันที่กำหนด)
ขบวนรถธรรมดา (Ordinary)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสาร จากกรุงเทพไปยังจังหวัดสำคัญๆ ในแต่ละภูมิภาค โดยมีระยะทางระหว่าง 151 – 600 กม. และหยุดเกือบทุกสถานีและป้ายหยุดรถ
ชนิดรถที่ให้บริการ
รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.)
รถโบกี้ชั้นที่ 2 (บชท.)
รถโบกี้ชั้นที่ 2 และ 3 ติดกัน (บสส.)
เส้นทางที่จัดบริการ :
ปัจจุบัน มีขบวนรถธรรมดาให้บริการแก่ผู้โดยสารในทุกภาคของประเทศ เช่น
สายเหนือ
ขบวนรถธรรมดา กรุงเทพ – พิษณุโลก – กรุงเทพ
ขบวนรถธรรมดา กรุงเทพ – ตะพานหิน – กรุงเทพ
ขบวนรถธรรมดา กรุงเทพ – นครสวรรค์ – กรุงเทพ
ขบวนรถธรรมดา กรุงเทพ – บ้านตาคลี – กรุงเทพ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ขบวนรถธรรมดา กรุงเทพ – สุรินทร์ – กรุงเทพ
สายตะวันออก
ขบวนรถธรรมดา กรุงเทพ – อรัญประเทศ – กรุงเทพ
ขบวนรถธรรมดา กรุงเทพ – กบินทร์บุรี – กรุงเทพ
ขบวนรถธรรมดา กรุงเทพ – บ้านพลูตาหลวง – กรุงเทพ (เดินเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์)
สายใต้
ขบวนรถธรรมดา ธนบุรี – ประจวบคีรีขันธ์ – ธนบุรี
ขบวนรถธรรมดา ธนบุรี – หลังสวน – ธนบุรี
ขบวนรถธรรมดา ธนบุรี – น้ำตก – ธนบุรี
ขบวนรถชานเมือง (Bangkok Commuter)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รัศมีไม่เกิน 150 กม. เพื่อใช้เดินทางไปทำงาน ศึกษาเล่าเรียน และติดต่อค้าขาย หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ
ชนิดรถที่ให้บริการ
ส่วนใหญ่จะเป็นรถนั่ง ชั้น 3 โดยจะมีรถนั่งชั้น 2 ปรับอากาศ บ้างในบางขบวน
เส้นทางที่จัดบริการ
ขบวนรถชานเมือง กรุงเทพ – ลพบุรี ระยะทาง 133 กม.
ขบวนรถชานเมือง กรุงเทพ – แก่งคอย ระยะทาง 125 กม.
ขบวนรถชานเมือง กรุงเทพ – ปราจีนบุรี ระยะทาง 122 กม.
ขบวนรถชานเมือง กรุงเทพ – ราชบุรี ระยะทาง 117 กม.
ขบวนรถชานเมือง กรุงเทพ – สุพรรณบุรี ระยะทาง 158 กม.
ขบวนรถท้องถิ่น (Rural Commuter)
เป็นขบวนรถที่จัดเดิน เพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารระหว่างจังหวัด หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ รถพ่วงจะเป็นรถโดยสารนั่งชั้น 3 ตลอดทั้งขบวน
ชนิดรถที่ให้บริการ
รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.) เป็นหลัก โดยจะมีรถดีเซลรางชั้น 3 ให้บริการบ้างบางขบวน
เส้นทางที่จัดบริการ
เป็นขบวนรถที่จัดบริการแก่ผู้โดยสารท้องถิ่น ให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อ ระหว่างจังหวัดสำคัญๆ ที่มีเส้นทางรถไฟผ่าน รวมทั้งในทางแยกสายต่างๆ ในภาคใต้
ขบวนรถรวม (Mixed)
เป็นขบวนรถที่จัดเดินเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสาร หยุดทุกสถานีและป้ายหยุดรถ รถพ่วงจะเป็นรถโดยสารนั่งชั้น 3 และมีรถสินค้าพ่วงไปด้วยเพื่อรับส่งสินค้า
ชนิดรถที่ให้บริการ
รถโบกี้ชั้นที่ 3 (บชส.) สำหรับผู้โดยสาร
รถตู้สินค้า สำหรับบรรทุกสินค้า
เส้นทางที่จัดให้บริการ
ปัจจุบันมีขบวนรถรวมให้บริการในภาคตะวันออกและภาคใต้ รวม 4 ขบวนต่อวัน ดังนี้
– ขบวนรถรวมที่ 485/486 ชุมทางหนองปลาดุก – น้ำตก – ชุมทางหนองปลาดุก
– ขบวนรถรวมที่ 489/490 สุราษฏร์ธานี – คีรีรัฐนิคม – สุราษฏร์ธานี
ที่มาของข้อมูล : การรถไฟแห่งประเทศไทย
รูปภาพประกอบ : Main Reservoir, Gunners, Pattharachai, Sammy