Search Engine Marketing

 

Search Engine Marketing

    SEM ย่อมาจากคำว่า Search Engine Marketing เป็นการผสมคำกันระหว่างคำว่า Search Engine หรือ เครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต และคำว่า Marketing หรือการตลาด ดังนั้น SEM หรือ Search Engine Marketing จึงหมายถึง “การทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ต”

การทำ SEM เป็นวิธีการโปรโมตเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพและตรงเป้าหมาย เนื่องจากในการค้นหาข้อมูลในแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้ Keyword (คีย์เวิร์ด) เป็นตัวกำหนดขอบเขต

     เมื่อเราป้อน Keyword ลงในช่องค้นหา Search Engine จะประมวลผลและแสดงออกมาเป็นรายการของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาตรงกับ Keyword นั้นๆ ไว้ในหน้า Search Result Page หรือ หน้าแสดงผลการค้นหา ยิ่งเว็บไซต์อยู่ในอันดับที่ดีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้มีคนเปิดเข้าไปดูมากขึ้นเท่านั้น และนำมาซึ่งยอดผู้ใช้บริการหรือยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น  Search engine ที่เป็นที่นิยมมากในปัจจุบันคือ Google และ Yahoo! โดย Google เป็นที่นิยมอันดับ 1 ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง และใต้หวันนิยมใช้ Yahoo!

การทำ SEM (Search Engine Marketing) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ

1. SEO (Search Engine Optimization) หรือการโปรโมทเว็ปไซต์ คือ การเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ในส่วนของผลการค้นหาทั่วไปในหน้า Search Result Page โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในเว็บไซต์ให้เป็นไปตามกฏของ Search Engine นั้นๆ อ่านต่อ 2. PPC (Pay Per Click) คือ ส่วนของพื้นที่โฆษณาซึ่งอยู่ในหน้า Search Result Page เช่นกัน แต่ต้องจ่ายเงินเมื่อมีการคลิ๊กเปิดเข้าไปดูเว็บไซต์ PPC มีข้อแตกต่างกับ SEO ตรงที่สามารถแสดงผลในลำดับต้นๆได้ง่ายและรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างในเว็ปไซด์ เพียงแค่ประมูล Keyword ที่ต้องการมา เว็บไซต์ก็สามารถแสดงอยู่ในอันดับต้นๆได้ – See more at: http://seo-web.aun-thai.co.th/what_is_sem/#sthash.3divhKSx.dpuf

ตัวอย่างหน้าผลการค้นหาของ Google.co.th โดย Keyword คำว่า “ทัวร์ ญี่ปุ่น”

     ในส่วนสีน้ำเงินคือส่วนของโฆษณาที่จะต้องเสียเงินเมื่อมีการคลิ๊กเกิดขึ้น ที่ไทยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ PPC (Pay Per Click) ส่วนที่ญี่ปุ่นจะเรียกว่า P4P (Pay for Performance หรือ Pay for Placement) หรือ Listing Advertising

        PPC เป็นรูปแบบการโฆษณาบน Search Result Page หรือหน้าแสดงผลการค้นหาซึ่งเราต้องประมูล Keyword เพื่อที่จะให้โฆษณาของเราไปปรากฎอยู่เมื่อมีการค้นหาใน Search Engine ตำแหน่งของโฆษณานั้นจะถูกกำหนดโดยค่าประมูลที่เรียกว่าค่า CPC (Cost Per Click) ซึ่งก็คือ ราคาที่เรากำหนดไว้ว่าหากมีคนคลิ๊กเข้าไปดูเว็บไซต์ของเราผ่านทางตัวโฆษณา เราจะต้องจ่ายเงินให้กับ Search Engine ครั้งละเท่าไหร่

ระบบโฆษณาแบบ PPC ที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการสองแบรนด์หลักใหญ่ๆ คือ 1. Google หรือชื่อทางการค้าคือ AdWords 2. Yahoo! หรือชื่อทางการค้าคือ Sponsored Search

การทำการตลาดผ่าน PPC เหมาะสำหรับ?

1. ต้องการทำโปรโมชั่นในระยะสั้น หรือชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง สามารถเลือกหรือเปลี่ยนแปลง Keyword และข้อความโฆษณาให้เหมาะกับเทรนด์ในช่วงเวลานั้นๆได้ตามต้องการ และยังสามารถเลือกให้แสดงหรือหยุดโฆษณาได้ทุกเมื่อ 2. ต้องการโปรโมทธุรกิจและสามารถเห็นผลได้ภายในระยะเวลาอันสั้น หรือการเปิดตัวสินค้าใหม่สามารถแสดงโฆษณาบน Search Engine ได้ในเวลาไม่กี่นาที ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาปรับปรุงเว็บไซต์และต้องรอเวลาในการไต่อันดับเหมือนกับการทำ SEO 3. ต้องการโปรโมทธุรกิจด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพแต่มีงบประมาณที่จำกัด การทำ PPC ช่วยเพิ่มโอกาสที่จะมีคนเปิดเข้าไปดูเว็บไซต์และช่วยเพิ่มยอดขายได้ นอกจากนั้นยังสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะแบ่งโดยภาษาหรือพื้นที่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะมาจากการคลิ๊กในแต่ละครั้งเท่านั้น และเรายังสามารถกำหนดงบประมาณที่จะใช้ในการโฆษณาได้อีกด้วย 4. ต้องการเพิ่มช่องทางในการโปรโมทสินค้า หรือบริการ    ตำแหน่งของ PPC เป็นส่วนที่สะดุดตาบน Search Result Page จึงมีโอกาสที่ผู้ใช้จะมองเห็นเว็บไซต์ของเราได้ง่าย นอกจากนั้น แม้ว่าจะไม่มีการคลิ๊กเข้าไปดู แต่ชื่อของเว็บไซต์และเนื้อหาที่ต้องการเน้นก็สามารถปรากฎให้ผู้ใช้เห็นได้ ซึ่งจะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเพราะไม่มีการคลิ๊กเกิดขึ้น 5. ต้องการให้เว็บไซต์อยู่ในหน้าแรกหรืออันดับต้นๆบน Search Result Page  หากมี Keyword ที่ต้องการให้เสิร์ชหรือให้ค้นหาเจอ หรือเป็น Keyword ที่ได้ทำ SEO แล้ว แต่เว็บไซต์อยู่ในอันดับที่ไม่ดีนัก ก็สามารถลงโฆษณาแบบ PPC เพื่อให้เว็บไซต์ปรากฎอยู่ในหน้าแรกได้เช่นกัน

บริการ PPC ของเรา- See more at: http://seo-web.aun-thai.co.th/what_is_sem/ppc.html#sthash.4HXfaRYn.dpuf

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s